เตรียมสอบเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เริ่มต้นเตรียมสอบจุฬาฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในชื่อของมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศไทย มหาวิทยาลัยที่น้อง ม.6 หลายคนใฝ่ฝัน โดยพี่ณัฐเชื่อว่าน้องๆ น่าจะรู้แล้ว ว่าจุฬาฯ นั้นเป็นมหาลัยที่สอบเข้ายากที่สุดในเกือบทุกคณะ หากอ้างอิงจากคะแนนต่ำสุดในปีที่ผ่านๆ มา เราจะเห็นว่ามีการแข่งขันที่ค่อนข้างสูงมาก ดังนั้นการสอบเข้าจุฬาฯ น้องๆ ต้องมีการวางแผนเป็นอย่างดี เพื่อให้เราทำคะแนนเพียงพอที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยแห่งนี้ได้ ในบทความนี้พี่ณัฐจะพาน้องๆ ไปดูกันว่ามีข้อมูลรายละเอียดและวิธีเตรียมตัวกันยังไงบ้าง เพื่อให้น้องๆ วางแผนและเป็นคนสอบติดมหาวิทยาลัยที่หวังได้ ไปดูกันเลย

คณะเปิดสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบันจุฬาฯ มีคณะที่เปิดรับนิสิตในระดับปริญญาตรีทั้งหมด 20 คณะ โดยแต่ละคณะจะมีเกณฑ์การรับนิสิตแตกต่างกันไปตามคณะ โดยน้องๆ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมในการรับเข้าของแต่ละคณะได้ด้านล่างเลย
คณะ-จุฬาฯ

รอบที่เปิดรับ
จุฬาฯ มีการเปิดรับนิสิตผ่านระบบ TCAS ทั้งหมด 3 รอบด้วยกัน
โดยแต่ละรอบจะมีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้
รอบที่ 1 Portfolio  [ดูรายละเอียดรอบที่ 1]
การรับนิสิตในรอบนี้จะมีเกณฑ์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. การสอบสัมภาษณ์ โดยเน้นวัดความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่น้องสมัครเข้ารับการคัดเลือก พูดง่ายๆ คือกรรมการต้องการรู้ว่าน้องมีความรู้สำคัญที่ใช้ในการเรียนคณะ-สาขานั้นๆ หรือไม่ ซึ่งหลายครั้งการสัมภาษณ์มีระดับไม่ต่างจากการสอบข้อเขียนในการสอบ TGAT, TPAT  และ A-level เลย
2. ผลงานและกิจกรรมที่น้องเคยเข้าร่วม โดยจะให้น้ำหนักสำคัญไปทางกิจกรรมการแข่งขันที่เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับในวงกว้างเป็นหลัก เช่น การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ และการแข่งขันโครงงานระดับประเทศ – ภูมิภาค

รอบที่ 2 Quota [ดูรายละเอียดรอบที่ 2]
การรับนิสิตในรอบนี้จะมีเงื่อนไขหลักๆ 2 แบบ ได้แก่
1. เงื่อนไขทางกายภาพ เช่น นักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อผลิตบุคลากรพัฒนาท้องถิ่น เป็นต้น
2. มีการสอบวิชาเฉพาะ ที่คณะต้องการจัดสอบเองทั้งภาคทฤษฎี และปฎิบัติ เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต้องการใช้คะแนนวิชา “ทักษะทางด้านการออกแบบ” เป็นต้น

รอบที่ 3 Admission หรือรอบรับตรง [ดูรายละเอียดรอบที่ 3]
การรับนิสิตในรอบรับตรง หรือ Admission นี้จะเน้นใช้คะแนนสอบ TGAT, TPAT และ A-level เป็นเกณฑ์ โดยมีหลักการง่ายๆ คือถ้าน้องทำคะแนนได้สูงกว่าเพื่อนๆที่สมัครเข้าคณะเดียวกัน ก็จะมีโอกาสสอบติดก่อน ซึ่งมีความชัดเจนในเกณฑ์ที่สุด และมีจำนวนรับค่อนข้างสูงในหลายคณะ


จุฬาฯรอบ3ทำไมต้องโฟกัสที่รอบที่ 3
น้องหลายคนพยายามโฟกัสการสอบ TCAS รอบที่ 1-2 ก่อน เพราะคิดว่าหากยื่นพอร์ตเข้าไปก็มีโอกาสติดตั้งแต่รอบแรกๆ ทำให้น้องหวังและอาจจะไม่ได้เตรียมตัวในการสอบ TCAS รอบที่ 3 และกว่าจะรู้ผลของ TCAS รอบ 1-2 ก็ปาไปประมาณช่วงต้นปี 2567 แล้ว ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่ถึง 3 เดือน ก่อนสอบ A-Level หากเตรียมตัวได้ไม่ทันหรือไม่ดีพอ ก็อาจจะทำให้เสียโอกาสไปเลย เพราะเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการเรียนเตรียมสอบจะอยู่ประมาณ 8-10 เดือน จะให้ผลดีที่สุดนั่นเอง ดังนั้นจึงอยากให้น้อง ม.6 เริ่มเตรียมตัวไปตั้งแต่ตอนนี้ โดยโฟกัสที่การสอบ TCAS รอบที่ 3 เป็นหลัก

เกณฑ์การรับสมัครและจำนวนรับ TCAS รอบ 3
คณะต่างๆ จะใช้เกณฑ์ที่แตกต่างกัน แต่จะใช้คะแนนจาก 3 ส่วนเป็นหลัก ได้แก่ TGAT, TPAT และ A-level โดยสิ่งที่น้องๆ ต้องระวังคือเกณฑ์ขั้นต่ำ ซึ่งแต่ละคณะจะแตกต่างกัน โดยจะมีขั้นต่ำ 4 รูปแบบได้แก่ GPAX, TGAT, TPAT และ A-level โดยน้องจะต้องทำคะแนนได้เกินกว่าคะแนนขั้นต่ำที่คณะต่างๆกำหนด ถึงจะมีสิทธิ์ยื่นคะแนนในระบบ TCAS รอบที่ 3 โดยรายละเอียดของคณะต่างๆ สามารถดูได้ดังนี้เลย

เกณฑ์จุฬาฯ66_1เกณฑ์จุฬาฯ66_2เกณฑ์จุฬาฯ66_3ประกาศเกณฑ์ละเอียดจากจุฬาฯ ปี 66 >> กดเลย

กำหนดการ TCAS66 รอบที่ 3
กำหนดการจุฬาฯ66

คะแนนสูง-ต่ำ TCAS รอบ 3
ปีการศึกษา 2565 : คลิกที่นี่
ปีการศึกษา 2564 :
คลิกที่นี่
ปีการศึกษา 2563 :
คลิกที่นี่
ปีการศึกษา 2562 :
คลิกที่นี่
ปีการศึกษา 2561 :
คลิกที่นี่
ปีการศึกษา 2560 :
คลิกที่นี่

สรุป
การสอบเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเหมือนความฝันของน้องหลายๆ คน สิ่งที่สำคัญไม่แพ้ความรู้และความสามารถที่น้องต้องมีแล้ว นั่นคือการวางแผนที่ดี ในการเรียนและทบทวนเนื้อหาแต่ละวิชาเพื่อนำไปใช้สอบ TGAT, TPAT และ A-level ดังนั้นถ้าตอนนี้อยากเริ่มต้น แนะนำให้เตรียม 4 วิชาสำคัญที่น้องต้องเริ่มต้นทันที ได้แก่ วิชา TGAT, คณิตศาสตร์, ภาษาอังกฤษ และฟิสิกส์ สำหรับน้องที่ต้องการสอบเข้าคณะสายวิทย์ เพราะภาพรวมทั้ง 4 วิชา ถูกใช้เป็นเกณฑ์ในการสอบเข้าเยอะที่สุด ดังนี้น้องต้องเตรียมทั้ง 4 วิชานี้ให้ดีๆ เลย และหากน้องคนไหนที่ไม่ถนัด วิชา เลข - ฟิสิกส์ และ TGAT 2 ขอแนะนำคอร์สเรียนที่น้องต้องห้ามพลาดของพี่ณัฐ-พี่แม็ก โดยน้องสามารถดูรายละเอียดด้านล่างได้เลย

เก็บเนื้อหาคณิต เก็บเนื้อหาฟิสิกส์


pnut_end_article

แชทผ่านไลน์
แชทกับเราบน Messenger