สรุปครบจบทุกอย่างที่ต้องรู้ TCAS67!

tcas67_สรุป
TCAS คืออะไร?

TCAS (Thai University Center Admission System) คือระบบการคัดเลือกบุคคลเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศไทย ดำเนินการโดยที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งหลายคนคงจะเข้าใจว่ามันคือระบบ เอนทรานซ์ หรือ Admission หรือเปล่า? ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ทั้งเอนทรานซ์และ Admission เหมือนสมัยก่อนแต่ TCAS นั้นจะเป็นระบบใหญ่ที่รวมการสอบเข้ามหาวิทยาลัยทุกรูปแบบโดยเฉพาะภาคภาษาไทยเข้าไว้เป็นศูนย์กลางของการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อนั่นเอง

1. TCAS แต่ละรอบมีอะไรบ้าง เงื่อนไขคืออะไร

ระบบ TCAS จะประกอบไปด้วย 4 รอบ ได้แก่
1. PORTFOLIO (เน้นผลงานส่วนบุคคล โดยเฉพาะการสอบแข่งขัน)
2. QUOTA (ให้สิทธิพิเศษแก่น้องๆ ที่เข้าเงื่อนไขที่กำหนด)
3. ADMISSION (เน้นใช้คะแนนสอบกลาง TGAT, TPAT และ A-level)
4. DIRECT ADMISSION (รอบเก็บตก จากคณะที่น้องสมัครไม่เต็ม)
โดยแต่ละรอบก็จะมีเงื่อนไข และการรับบุคคลเข้าศึกษาต่อไม่เหมือนกัน โดยถ้าน้องๆคนไหนอยากรู้รายละเอียดของแต่ละรอบให้มากขึ้น ก็เลื่อนลงไปอ่านต่อได้เลย


1.1 รอบ Portfolio
รอบ Portfolio จะเป็นรอบที่ให้น้องๆ ที่มีผลงานเด่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน ความสามารถพิเศษ หรือการไปร่วมสอบแข่งขันระดับโรงเรียน – ภูมิภาค – ประเทศ (อาจารย์หลายท่านแอบกระซิบมาว่า คะแนนส่วนของการสอบแข่งขันจะสูงกว่าเกียรติบัตรเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างมาก) นำมายื่นประกอบในคณะที่ตัวเองต้องการเข้า ซึ่งในรอบนี้จะเน้นไปที่การสัมภาษณ์และดูผลงานใน Portfolio เป็นหลัก แต่ก็ยังมีอีกหลายคณะที่เปิดรับรอบนี้และต้องการคะแนนสอบมายื่นร่วมด้วย อย่างเช่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี น้องๆ จะต้องมีคะแนน BMAT ยื่นร่วมด้วย

ส่วนในรอบสัมภาษณ์ ส่วนใหญ่ก็จะถูกถามเกี่ยวกับเนื้อหาหรือความสนใจของคณะนั้นๆ เช่น คณะเภสัชศาสตร์ ก็อาจจะมีการถามเกี่ยวกับวิชา เคมี เป็นต้น เพื่อเป็นการวัดสความสามารถในทางวิชาชีพของน้องๆ

สำหรับสิ่งที่น้องต้องระวังให้ดีกับ รอบ Portfolio เลยก็คือ การทุ่มเท ทุ่มเวลาให้กับการทำ Portfolio จนไม่ได้เตรียมตัวรอบอื่นๆ ที่เปิดรับเยอะๆ เพราะเมื่อถึงเวลายื่นพอร์ตไปแล้วกว่าจะถึงวันประกาศ ก็จะไปอยู่ช่วงปลายปีแล้ว หากผิดหวังอาจจะกลับมา ก็เตรียมตัวรอบอื่นๆ ไม่ทัน ดังนั้นหากจะทำพอร์ตก็ต้องวางแผนรับความเสี่ยงที่จะพลาดไว้ด้วย เพราะเกณฑ์การสอบในรอบนี้ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่นักนั่นเอง

1.2 รอบ Quota
รอบ Quota เป็นอีกหนึ่งรอบที่รับน้องๆที่ตั้งใจจะเข้าศึกษาต่อ แต่จะจำกัดด้วยเงื่อนไขบางอย่างของคณะ-มหาวิทยาลัยกำหนดเพื่อคัดเลือกน้องๆเข้าศึกษา ยกตัวอย่างเช่นน้องๆที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือน้องที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนที่กำหนดนั่นเอง ซึ่งหากน้องๆ ผ่านหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขได้แล้ว ก็จะต้องเข้ารอบสัมภาษณ์ต่อไป ซึ่งหากว่าในสาขานั้นๆ มีผู้สมัครที่เกินกว่าทางคณะหรือมหาวิทยาลัยได้กำหนดไว้ เขาก็จะทำการนำคะแนนจากส่วนอื่นๆ เช่น TGAT, TPAT และ A-level มาคิดน้ำหนักอีกด้วย

หากจะพูดให้ง่ายๆ เลยก็คือ รอบ Quota ก็จะเหมือนการสอบในรอบ Admission ที่มีการจำกัดจำนวนคนลงนั่นเอง และใครที่สอบติดในรอบนี้ต้องดูหลักเกณฑ์ให้ดี เพราะบางคณะอาจจะมีเงื่อนไขพ่วงท้ายด้วย เช่น แพทย์ชนบท จะต้องไปใช้ทุนในจังหวัดภูมิลำเนาที่ทางคณะ-มหาวิทยาลัยกำหนด เป็นต้น

1.3 รอบ Admission
รอบ Admission เป็นรอบที่มีจำนวนรับคนเข้าศึกษาต่อเยอะที่สุด และมีเงื่อนไขน้อยที่สุด โดยรอบนี้จะเป็นการวัดกันที่คะแนนสอบ TGAT, TPAT และ A-Level ซึ่งแต่ละคณะก็จะใช้เกณฑ์น้ำหนักของแต่ละวิชาที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นหากน้องๆ จะยื่นรอบ Admission จะต้องหาข้อมูลคะแนนที่ใช้ให้ดีว่า คณะไหน สาขาไหน มหาวิทยาลัยไหน ใช้คะแนน TGAT, TPAT และ A-Level ในสัดส่วนเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้วางแผนการสอบให้ได้คะแนนรวมออกมาเยอะที่สุด และมีสิทธิ์ในการเลือกคณะที่แข่งขันสูงก่อนนั่นเอง

1.4 รอบ Direct Admission
รอบ Direct Admission หรือจะให้เรียกง่ายๆ ว่าเป็นรอบเก็บตก โดยรอบนี้จะเป็นการที่คณะหรือมหาลัย ที่มีจำนวนคนเข้าศึกษาต่อยังไม่ครบ เขาก็จะทำการเปิดรับอีกรอบนึง ซึ่งจะเป็นการรับโดยตรงผ่านทางมหาวิทยาลัยเอง ไม่ผ่านระบบ TCAS ซึ่งน้องๆ สามารถที่จะติดตามรายละเอียดได้หลังจากที่ประกาศผลของรอบ Admission เรียบร้อยไปแล้วนั่นเอง


2. กำหนดการสอบ TCAS67
กำหนดการtcas67

3. ใครสามารถสมัคร TCAS ได้บ้าง?

⋆ นักเรียนชั้น ม.6 ปีการศึกษาปัจจุบัน
⋆ นักศึกษาหลักสูตรกศน. (การศึกษานอกโรงเรียน)
⋆ นักศึกษาหลักสูตรปวช. (ประกาศนียบัตรวิชาชีพ)
⋆ นิสิต/นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย (เด็กซิ่ว)
⋆ นักเรียนที่สอบผ่านหลักสูตร GED อย่างน้อย 2 วิชา (หลักสูตรเรียนที่บ้าน)

[สำคัญมาก!]
คณะ-มหาวิทยาลัยสามารถกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครได้ ดังนั้นต้องตรวจสอบอย่างละเอียดว่าน้องๆ ผ่านเงื่อนไขของคณะ-มหาวิทยาลัยนั้นๆหรือไม่

4. วิธีการตรวจสอบคุณสมบัติ-น้ำหนักวิชา TCAS67

1. เข้าเว็บไซต์ mytcas.com
เลื่อนลงมาจนเจอ หัวข้อ "ค้นหาข้อมูลหลักสูตร"

เช็คคุณสมบัติtcas67_1

2. เลือกคณะ-มหาวิทยาลัยที่ต้องการค้นหาข้อมูล
สามารถพิมพ์คำง่ายๆ ได้เลย เช่น บริหารธุรกิจ เกษตร เป็นต้น โดยระบบจะค้นหาคณะ-มหาวิทยาลัยที่ใกล้เคียงกับคำที่น้องๆค้นหา

คุณสมบัติ tcas67_2

3. กดเลือกรอบของ TCAS ที่น้องต้องการตรวจสอบคุณสมบัติ-น้ำหนัก
ส่วนใหญ่รายละเอียดทั้งหมดจะแสดงสำหรับ TCAS รอบ 3 (Admission) แต่รอบอื่นๆ ก็จะมีรายละเอียดแสดงให้น้องๆเห็นเล็กน้อย

คุณสมบัติ tcas67_3

4. ตรวจสอบคุณสมบัติได้เลย!

คุณสมบัติ tcas67

5. คำอธิบายคุณสมบัติของผู้สมัคร
*
รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรแกนกลาง >> น้องที่เรียนจบชั้น ม.6 จากทุกโรงเรียนทั่วประเทศ
* รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรนานาชาติ >> น้องที่เรียนจบชั้น ม.6 จากโรงเรียนอินเตอร์ทั่วประเทศ
* รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรอาชีวะ >> น้องที่เรียนจบ ปวช. ชั้นปีที่ 3 จากสถาบันทั่วประเทศ
* รับผู้สมัครที่จบจาก รร. หลักสูตรตามอัธยาศัย (กศน.) >> น้องที่เรียนจบหลักสูตร กศน .จากทั่วประเทศ
* รับผู้สมัครที่จบหลักสูตร GED >> น้องที่เรียนจบหลักสูตรเรียนเองที่บ้าน

โดยถ้าขึ้นเป็นเครื่องหมาย ☑ หมายความว่าถ้าน้องๆตรงกับคุณสมบัติดังกล่าว = สมัครสอบได้
แต่ถ้าขึ้นเป็นเครื่องหมาย หมายความว่าถ้าน้องๆตรงกับคุณสมบัติดังกล่าว = ไม่สมัครสอบได้

5. โฟกัสที่รอบ 3 Admission ดียังไง?

1. รับจำนวนเยอะที่สุด
2. เงื่อนไขน้อยที่สุด
3. วิชาสอบชัดเจน โดยจะมีทั้งหมด 3 ข้อสอบใหญ่

* TGAT = ความถนัดทั่วไป (วิชาที่ถูกเอาไปใช้เยอะที่สุด ในการคิดคะแนนในทุกคณะ) ซึ่งจะแบ่งเป็น 3 ส่วน
TGAT1 = การสื่อสารภาษาอังกฤษ
TGAT2 = การคิดอย่างมีเหตุผล
TGAT3 = สมรรถนะการทำงาน
* TPAT1-5 = ความถนัดวิชาชีพ (เน้นแยกตามคณะสำคัญ) แบ่งออกเป็นข้อสอบ 5 ความถนัด
TPAT1 = ความถนัดแพทย์ (ใช้กับคณะ วิทยาศาสตร์สุขภาพ)
TPAT2 = ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (ใช้กับคณะ ศิลปกรรมศาสตร์)
TPAT3 = ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ (ใช้กับคณะ วิทยาศาสตร์-วิศวกรรมศาสตร์)
TPAT4 = ความถนัดทางสถาปัตยกรรม (ใช้กับคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์)
TPAT5 = ความถนัดทางครุศาสตร์ (ใช้กับคณะ ครุศาสตร์)
* A-level = วิชาที่เรียนจาก ม.ปลายโดยตรง แบ่งเป็น 7 วิชาได้แก่
ภาษาไทย
สังคม
คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม)
คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 (พื้นฐาน)
ภาษาอังกฤษ
ฟิสิกส์
เคมี
ชีวะ
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (พื้นฐาน)
ภาษาที่ 3 (7 ภาษาแยกชุดกัน)

6. กำหนดการสอบ TGAT|TPAT|A-level
กำหนดสอบtgat67
กำหนดการสอบ a-level67

7. ข้อมูลการสอบที่น่าสนใจของ #dek66
* สถิติการสอบ TGAT|TPAT2-5 >> คลิ๊กที่นี่
* สถิติการสอบ A-level >> คลิ๊กที่นี่
* คะแนนสูงต่ำ TCAS รอบ Admission >> คลิ๊กที่นี่


3 STEPS เตรียมตัว TCAS67
3step tcas>>กดเลย! ให้พี่ๆ ช่วยแนะนำการเรียน<<


8. รวมประเด็นสำคัญ TCAS67
มีอะไรเปลี่ยนแปลงจาก TCAS66 บ้าง (Update ตามงานแถลงข่าว ทปอ. วันที่ 20 ส.ค. 66)

1. TCAS67 มีเพิ่มวิชาที่สามารถสอบในรูปแบบคอมพิวเตอร์ได้ ได้แก่
* A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2
* A-Level วิทยาศาสตร์ประยุกต์
* ภาษาที่ 3 (ทุกภาษา)
จากเดิมที่มีเฉพาะวิชา TGAT|TPAT2-5 เท่านั้นที่สามารถสอบผ่านคอมพิวเตอร์ได้

2. Test Blueprint ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ยกเว้น วิชา TPAT4 ความถนัดทางด้านสถาปัตยกรรม มีการเปลี่ยนแปลงโดยเพิ่มจำนวนข้อสอบจากปกติ 40 ข้อ เป็น 80 ข้อ ในเวลา 3 ชั่วโมง

3. สำหรับน้องคนไหนที่เป็น เด็กซิ่ว (เคยสอบในปีก่อนหน้าแล้ว) แล้วจะสอบในปี TCAS67 นี้ จะต้องสอบ TGAT|TPAT|A-level ใหม่ทั้งหมด (คะแนนไม่สามารถใช้ข้ามปีได้)

4. การลงทะเบียนในเว็บ mytcas เปลี่ยนเป็นวันที่ 28 ต.ค. 66 (จากกำหนดการเดิม 23 ต.ค. 66) สำหรับใครที่เคยสมัครแล้วสามารถใช้ user เดิมในการเข้าสู่ระบบได้เลย แต่ต้องทำการตรวจสอบข้อมูลของตนเองให้เป็นปัจจุบันและถูกต้องด้วย

5. ในการเข้าสู่ระบบครั้งแรก และต้องอัปโหลดรูปถ่ายตนเอง สามารถใช้รูปอื่นที่เป็นรูปของตัวเองและต้องเห็นหน้าชัดเจน ไม่จำเป็นต้องใช้รูปถ่ายที่ใส่ชุดนักเรียน

6. ระบบ TCAS67 มีการรองรับบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ ThaID แล้ว (แต่ยังคงไม่รับสำเนาบัตรทุกประเภท และไม่รับภาพถ่ายบัตรประชาชนจากโทรศัพท์มือถือ)

7. สำหรับระบบการคัดเลือกไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในด้านของเกณฑ์และกำหนดการต่างๆ ก็จะขึ้นอยู่กับทางมหาวิทยาลัยเป็นคนกำหนด ซึ่งเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ จะมีการอัปเดตใน mytcas ประมาณสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน ตุลาคม 66 เป็นต้นไป

9. สรุปสิ่งสำคัญสำหรับการสอบ TCAS

1. ศึกษาข้อมูลทุกอย่างของคณะ-มหาวิทยาลัยที่ตัวเองอยากเข้า ดูว่าแต่ละรอบนั้นมีคุณสมบัติอย่างไร วิชา TGAT | TPAT | A-Level หรือวิชาเฉพาะของมหาวิทยาลัยที่ใช้เป็นเกณฑ์นั้นใช้สัดส่วนเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้เตรียมตัวได้ถูกต้องและเพิ่มโอกาสในการสอบเข้าให้ได้สูงที่สุด

2. สมัครสอบ - เข้าสอบให้ครบตามเกณฑ์ของคณะที่ตัวเองอยากเข้ากำหนด ซึ่งจริงๆ แล้วถึงไม่ได้สอบก็ยื่นคะแนนได้ แต่โอกาสจะน้อยมาก เพราะวิชาที่ลืมสมัคร-ลืมเข้าสอบจะคิดคะแนนเป็น 0

3. การสอบ TGAT | TPAT และ A-Level สอบคนละช่วงเวลากันโดย TGAT | TPAT จะสอบก่อน (เดือน ธันวาคม 66) และ A-level จะสอบหลังจากนั้น 3 เดือน (เดือน มีนาคม 67) ดังนั้นต้องวางแผนการอ่านหนังสือให้ดี ตรงกับช่วงเวลาสอบเพื่อทำคะแนนในแต่ละส่วนให้ได้สูงสุดเท่าที่เราจะทำได้

4. ห้ามเปรียบเทียบคะแนนของคณะเดียวกันข้ามมหาวิทยาลัย เนื่องจากหลายมหาวิทยาลัยที่เป็นคณะเดียวกัน อาจจะใช้เกณฑ์ต่างกัน ทำให้คะแนนอาจจะต่างกันมากอย่างไม่น่าเชื่อ

5. แม้ว่าประเด็นสำคัญของ TCAS67 จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากมายจาก TCAS66 แต่น้องๆ ก็ต้องติดตามข่าวให้ อัปเดทอยู่เสมอ ถึงตัวระบบนั้นจะไม่ได้มีอะไรปรับเปลี่ยน แต่ไม่ได้หมายความว่าเกณฑ์จากมหาวิทยาลัยจะไม่เปลี่ยนแปลง ยังไงก็ต้องคอยติดตามเรื่อยๆ นะครับ

คอร์สเรียน tgatคอร์สตะลุยโจทย์คณิตตะลุยโจทย์ฟิสิกส์


pnut_end_article

แชทผ่านไลน์
แชทกับเราบน Messenger