TGAT – TPAT สอบอะไร ไขข้อสงสัยให้ #dek67

tgat-tpat_1TGAT – TPAT สอบอะไร ไขข้อสงสัยให้ #dek67

สวัสดีครับน้องๆ ม.4, ม.5 และม.6 ทุกคน ตอนนี้ก็เข้าสู่เทศกาลของการสอบของ TCAS67 กันแล้ว แต่น้องรู้แล้วหรือยังว่าตัวเองต้องสอบอะไรบ้าง? ถ้าหากไม่รู้ แล้วน้องๆ เคยได้ยินคำว่า TGAT, TPAT และ A-Level บ้างรึเปล่า.. หลายๆ คนก็คงจะรู้จักกันมาบ้างแล้ว แต่บางคนก็คงยังจะงงอยู่แน่ๆ สำหรับ 3 คำที่พี่ได้ยกมาถามน้องๆ นั้นเป็นชื่อข้อสอบที่น้องต้องเจอในระบบ TCAS นั่นเอง ซึ่งทุกตัวเลยทั้ง TGAT, TPAT และ A-Level ล้วนเป็นคะแนนที่เอาไว้ใช้ยื่นสอบเข้ามหาวิทยาลัยผ่านระบบ TCAS ดังนั้นพี่ณัฐเลยจะมาไขข้อสงสัยกับเจ้า TGAT – TPAT  กันก่อนว่ามันคืออะไร
มีโครงสร้างอย่างไร และใช้กับคณะอะไรได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้วก็ตามกันไปดูกันเลย

  1. TGAT คืออะไร ใช้ทำอะไร

TGAT หรือในชื่อเต็ม Thai General Aptitude Test คือการสอบเพื่อวัดสมรรถนะทั่วไปของน้องๆ ซึ่งในข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท ดังนี้ TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ, TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล และTGAT3 สมรรถนะการทำงาน โดยจะมีคะแนนทั้ง 3 พาร์ท รวม 300 คะแนนและใช้เวลาในการสอบเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น (ซึ่งข้อสอบแจกพร้อมกันเลย บริหารเวลากันเองนะ)

"สำหรับ TGAT เป็นวิชาพิเศษที่แม้ว่าน้อง
จะต้องสอบครบทั้งหมด 3 พาร์ท
แต่มหาวิทยาลัยสามารถกำหนดได้
ว่าจะใช้คะแนนรวมทั้งหมด
หรือแยกเป็น TGAT1/TGAT2/TGAT3
ดังนั้นน้องต้องเช็กเกณฑ์ให้ดี"

  1. ข้อสอบ TGAT ไม่ใช่ GAT อย่าสับสน

“จะหาข้อสอบเก่ามาลองฝึก TGAT แล้วสามารถใช้ GAT มาฝึกได้ไหม?” อีกหนึ่งคำถามที่พี่ณัฐและพี่แม็ก เห็นบ่อยๆ ทั้งจากที่ส่งมาถามทาง Line official : @mathbynutty และตามช่องทางอื่นๆ ซึ่งพี่อยากจะบอกว่า “ใช้ฝึกแทนกันไม่ได้เลยครับ น้องๆ อาจจะต้องทำความเข้าใจใหม่ก่อนว่า GAT ในข้อสอบสมัยก่อน (ตั้งแต่ปี 64 ย้อนขึ้นไป) นั้นจะแบ่งออกเป็น 2 พาร์ท คือพาร์ทภาษาไทยที่เป็น GAT เชื่อมโยง โดยจะให้บทความมา 2 บทความ และคำที่ไฮไลท์ ซึ่งจะต้องเชื่อมโยงเนื้อหาให้ได้ และพาร์ท GAT ภาษาอังกฤษ โดยจะมีเวลาสอบ 3 ชั่วโมงแต่จะแบ่งการแจกข้อสอบเป็น 2 รอบ ตามวิชา เท่ากับว่าน้องจะได้ทำข้อสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที ส่วนข้อสอบ TGAT นั้นจะมีทั้งหมด 3 พาร์ท ซึ่งเป็นข้อสอบแบบฝนคำตอบทั้งหมด 200 ข้อ มีเวลาให้ทำ 3 ชั่วโมง เฉลี่ยข้อละไม่ถึง 1 นาที โดยจะแจกข้อสอบทุกพาร์ทพร้อมกันทำให้น้องต้องบริหารเวลาในห้องสอบกันเอง

  1. โครงสร้างข้อสอบ TGAT
    3.1 TGAT1 การสื่อสารภาษาอังกฤษ
    เป็นข้อสอบประเภทปรนัย มี 4 ตัวเลือก ระยะเวลาที่ใช้ในการสอบ 60 นาที ซึ่ง TGAT1 จะแบ่งออกเป็น 2 พาร์ท ดังนี้
    1. พาร์ททักษะการพูด (Speaking Skill) จำนวน 30 ข้อ (50 คะแนน)
    การถาม – ตอบ (Question Response) จำนวน 10 ข้อ
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat1-1เติมบทสนทนาแบบสั้น (Short Conversation) จำนวน 10 ข้อ
    เติมบทสนทนาแบบยาว (Long Conversation) จำนวน 10 ข้อ
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat1-22. พาร์ททักษะการอ่าน (Reading Skill) จำนวน 30 ข้อ (50 คะแนน)
    เติมข้อความในเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ (Text Completion) จำนวน 2 บทความ มีทั้งหมด 15 ข้อ
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat1-3อ่านเพื่อจับใจความ (Reading Comprehension) จำนวน 3 บทความ มีทั้งหมด 15 ข้อ
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat1-43.2 TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical & Logical Thinking)
    เป็นข้อสอบประเภทปรนัย จำนวน 5 ตัวเลือก มีทั้งหมด 80 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 พาร์ท ซึ่งจะใช้เวลาในการสอบ 60 นาที

    1. ความสามารถทางภาษา มีทั้งหมด 20 ข้อ จะวัดทั้งหมด 4 ด้าน
    การสื่อความหมาย
    การใช้ภาษา
    การอ่าน
    การเข้าใจภาษา
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat2-1-1tgat2-1-22. ความสามารถทางตัวเลข มีทั้งหมด 20 ข้อ จะวัดทั้งหมด 4 ด้าน
    อนุกรมมิติ
    การเปรียบเทียบเชิงปริมาณ
    ความเพียงพอของข้อมูล
    โจทย์ปัญหา
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat2-2-1tgat2-2-23. ความสามารถทางมิติสัมพันธ์ มีทั้งหมด 20 ข้อ จะวัดทั้งหมด 4 ด้าน
    แบบพับกล่อง
    แบบหาภาพต่าง
    แบบหมุนภาพสามมิติ
    แบบประกอบภาพ
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat2-3-1tgat2-3-24. ความสามารถทางเหตุผล มีทั้งหมด 20 ข้อ จะวัดทั้งหมด 4 ด้าน
    อนุกรมภาพ
    อุปมา - อุปไมยภาพ
    สรุปความ
    วิเคราะห์ข้อความ
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat2-4-1tgat2-4-2tgat2-4-33.3 TGAT3 สมรรถนะการทำงาน
    สำหรับ TGAT3 สมรรถนะในการทำงาน จะเป็นข้อสอบประเภทปรนัย มี 4 ตัวเลือก แต่สิ่งที่ควรระวังเลยคือในข้อสอบ TGAT3 แต่ละพาร์ททุกคำตอบจะมีคะแนน อยู่ในช่วงระหว่าง 0-1 คะแนน โดยรูปแบบการตอบคำถามนั้นจะมี 2 แบบ คือ การให้เลือกตอบเพียงคำตอบเดียว และ การเลือกคำตอบหลายตัวเลือก ซึ่ง TGAT3 จะมีข้อสอบจำนวน 60 ข้อ คะแนนเต็ม 100 คะแนน แบ่งออกเป็น 4 พาร์ท ดังนี้

    1.การสร้างคุณค่าและนวัตกรรม จำนวน 15 ข้อ

    "เลือกตอบตัวเลือกเดียว คะแนนจะลดตาม
    ความถูกต้องตั้งแต่ 0.25-1 คะแนน"

    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat3-12.การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน จำนวน 15 ข้อ

    ข้อสอบในพาร์ทนี้จะแบบจำลองเหตุการณ์ ซึ่งการตอบคำถามจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ

    แบบที่ 1 ข้อสอบ 1 ข้อจะมีหลายคำตอบ ซึ่งต้องฝนคำตอบให้ครบทุกข้อที่ถูกต้องจึงจะได้ 1 คะแนนเต็ม
    ตัวอย่างการให้คะแนน
    tgat3-2-1แบบที่ 2 ข้อสอบ 1 ข้อ จะตอบได้แค่คำตอบเดียวเท่านั้น! แต่คะแนนจะลดหลั่นตามความถูกต้อง โดยตัวเลือกในแต่ละข้อจะมีคะแนนตั้งแต่ 0.25 – 1 คะแนน
    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat3-2-2tgat3-2-33.การบริหารจัดการอารมณ์ จำนวน 15 ข้อ

    "เลือกตอบตัวเลือกเดียว คะแนนจะลดตาม
    ความถูกต้องตั้งแต่ 0-1 คะแนน"

    ตัวอย่างข้อสอบ
    tgat3-34.การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมของสังคม จำนวน 15 ข้อ

    "เลือกตอบตัวเลือกเดียว คะแนนจะลดตาม
    ความถูกต้องตั้งแต่ 0-1 คะแนน"

    ตัวอย่างข้อสอบtgat3-4

    คอร์สเรียน tgat>>กดตรงนี้เพื่อไปดูคอร์สเรียน<<

  2. TPAT คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง

    TPAT หรือชื่อเต็ม Thai Professional Aptitude Test จะเป็นข้อสอบที่วัดความถนัดทางด้านวิชาชีพ ซึ่งเป็นข้อสอบที่มีการปรับเปลี่ยนมาจากข้อสอบเก่าอย่าง PAT โดยปัจจุบัน TPAT จะมีวิชาให้เลือกสอบเพียงแค่ 5 กลุ่มความถนัดเท่านั้นและแต่ละวิชาจะมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่ง TPAT 5 กลุ่มความถนัดนั้น ได้แก่

    4.1 TPAT1 ความถนัดทางด้านวิชาชีพแพทย์ (กสพท)

    เป็นข้อสอบที่จัดสอบโดยองค์กร กสพท ซึ่งคะแนนจะเอาไว้ยื่นคณะวิทย์สายสุขภาพ 4 คณะนี้เท่านั้น ได้แก่ แพทยศาสตร์, ทันตแพทยศาสตร์, เภสัชศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์

    รายละเอียดข้อสอบ TPAT1
    tpat1รูปแบบการสอบ
    สอบได้แค่รูปแบบกระดาษเท่านั้น!!

    ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน TPAT1
    • คณะแพทยศาสตร์
    • คณะทันตแพทยศาสตร์
    • คณะเภสัชศาสตร์
    • คณะสัตวแพทยศาสตร์

    4.2 TPAT2 ความถนัดทางด้านศิลปกรรมศาสตร์

    เป็นข้อสอบที่วัดความถนัดของน้องๆ ที่จะเข้าคณะสายศิลปกรรมศาสตร์หรือที่เกี่ยวกับ ทัศนศิลป์ ดนตรี และนาฏศิลป์ โดยข้อสอบ TPAT2 จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ TPAT21 ทัศนศิลป์ TPAT22 ดนตรี และ TPAT23 นาฏศิลป์ ซึ่งในห้องสอบน้องจะได้ข้อสอบ TPAT2 มาพร้อมกันทุกส่วน น้องๆ สามารถเลือกทำข้อสอบครบหรือไม่ครบทุกพาร์ทก็ได้ เพราะแต่ละคณะ – มหาวิทยาลัยสามารถดึงคะแนนเฉพาะส่วนไปใช้ได้ เช่น คณะมนุษยศาสตร์ สาขาดนตรีไทย ม.เกษตร (ใช้แค่ TPAT22 ดนตรี อย่างเดียว) แต่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาทัศนศิลป์ ม.นเรศวร (ใช้คะแนน TPAT2 ครบทุกพาร์ทลย) ดังนั้นถ้าหากน้องจะสอบคณะเหล่านี้ต้องเช็กเกณฑ์ให้ดีและต้องตั้งใจทำข้อสอบให้ครบทุกพาร์ทด้วย

    รายละเอียดข้อสอบ TPAT2
    tpat2รูปแบบการสอบ
    สามารถเลือกวิชาที่สอบได้ รวมถึงสามารถเลือกได้ว่าจะสอบแบบคอมหรือสอบแบบกระดาษ

    ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน TPAT2
    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
    (เช่น มหาวิทยาลัยนเรศวร)
    คณะศิลปกรรมศาสตร์
    (เช่น มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ, มหาวิทยาลัยบูรพา)
    คณะดนตรีและการแสดง
    (เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา)
    คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีไทย
    (มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
    คณะศึกษาศาสตร์ สาขาศิลปศึกษา
    (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

    4.3 TPAT3 ความถนัดทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์

    รายละเอียดข้อสอบ TPAT3
    tpat3รูปแบบการสอบ
    สามารถเลือกได้ว่าจะสอบแบบคอมหรือสอบแบบกระดาษ

    ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน TPAT3
    คณะวิศวกรรมศาสตร์
    คณะวิทยาศาสตร์
    คณะสายวิทย์สุขภาพ เช่น  คณะเทคนิคการแพทย์ คณะสหเวชศาสตร์
    คณะสัตวแพทย์(บางมหาวิทยาลัย)
    คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    คณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์ ที่มีเอกเป็นสายวิทย์ เช่นฟิสิกส์ เคมี ชีวะ และวิทย์ทั่วไป

    4.4 TPAT4 ความถนัดทางด้านสถาปัตยกรรม

    รายละเอียดข้อสอบ TPAT4tpat4รูปแบบการสอบ
    สามารถเลือกได้ว่าจะสอบแบบคอมหรือสอบแบบกระดาษ

    ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน TPAT4
    คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

    4.5 TPAT5 ความถนัดทางด้านครุศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์

    รายละเอียดข้อสอบ TPAT5
    tpat5รูปแบบการสอบ
    สามารถเลือกได้ว่าจะสอบแบบคอมหรือสอบแบบกระดาษ

    ตัวอย่างคณะที่ใช้คะแนน TPAT5
    คณะศึกษาศาสตร์
    คณะครุศาสตร์

    อย่างที่บอกน้องๆ ไปแล้วว่า ข้อสอบ TPAT นั้นเป็นข้อสอบที่วัดความถนัดทางด้านวิชาชีพ ดังนั้นน้องก็จะสามารถที่จะเลือกสมัครสอบได้ตามคณะที่น้องๆ อยากเข้าได้ หรือจะสอบเก็บคะแนนเผื่อไว้ทุกวิชาเพื่อที่จะยื่นในลำดับอื่นๆ ตอน Admission ก็ได้น้า

  3. ตัวอย่างการใช้น้ำหนัก TGAT – TPAT (เกณฑ์ ปีการศึกษา 2566)
    เกณฑ์tcas1เกณฑ์tcas2เกณฑ์tcas3เกณฑ์tcas4เกณฑ์tcas5

  4. ปฏิทินการสอบ TGAT – TPAT ปี67
    ปฏิทินสอบtcas

  5. ใครสามารถสมัครสอบ TGAT – TPAT ได้บ้าง

    1. นักเรียนที่เรียนอยู่ชั้น ม.6 ปีการศึกษาปัจจุบัน
    2. นักเรียนที่เรียนจบชั้น ม.6 ปีการศึกษาก่อนหน้า (เด็กซิ่ว)
    3. นักศึกษาหลักสูตร ปวช. (ใบประกอบวิชาชีพ)
    4. นักศึกษาหลักสูตร ปวส. (ใบประกอบวิชาชีพขั้นสูง)
    5. นักศึกษาหลักสูตร กศน. (การศึกษานอกโรงเรียน)
    6. นักศึกษาหลักสูตร GED (เรียนที่บ้านและสอบเทียบ)

    สิ่งสำคัญมากๆเลย คือคะแนน TGAT-TPAT มีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น แสดงว่าถ้าน้องเคยสอบในปีก่อนหน้า และต้องการจะยื่นเข้ามหาวิทยาลัยใหม่ น้องจะต้องสอบใหม่เพราะไม่สามารถใช้คะแนนเก่าในการยื่นได้ (พูดง่ายๆ สอบปีไหน ยื่นปีนั้น) ซึ่งไม่เหมือนระบบ GAT-PAT ที่คะแนนมีอายุถึง 2 ปีนั่นเอง

  6. สถิติ TGAT – TPAT

    สถิติพื้นฐาน TGAT และ TPAT (2566)
    ตารางคะแนน TGAT และ TPAT (2566)

  7. สรุป

    TGAT-TPAT นั้นเป็นวิชาสำคัญที่น้องต้องสอบ เพราะว่าเกือบทุกคณะที่รับนักศึกษาผ่านระบบ TCAS จะต้องใช้คะแนนตัวใดตัวหนึ่งเป็นเกณฑ์ในการรับนักศึกษา (โดยเฉพาะ TGAT ใช้เกือบทุกคณะในประเทศไทย)

    • วิชา TGAT จะแยกออกเป็น 3 พาร์ท ได้แก่ TGAT1 ภาษาอังกฤษ – TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล และ TGAT3 สมรรถนะการทำงาน โดยทางมหาวิทยาลัยสามารถเลือกใช้คะแนนที่เป็นเกณฑ์ได้ อย่างเช่น ใช้ TGAT1 ภาษาอังกฤษ ร่วมกับข้อสอบ A-Level วิชาอื่น

    • อายุของข้อสอบ TGAT – TPAT จะมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น น้องๆ คนไหนที่ต้องการซิ่วจะต้องใช้สมัครสอบเพื่อใช้คะแนนใหม่

    • แต่ละมหาวิทยาลัยจะมีเกณฑ์ของคณะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นก่อนจะเริ่มเตรียมตัว ต้องศึกษาเกณฑ์ของคณะและมหาวิทยาลัยเป้าหมายของเราก่อน จะได้เตรียมตัวถูกว่าต้องเตรียมตัวสำหรับสอบวิชาอะไรบ้าง

    คอร์สtgat23step_math3step_phys


pnut_end_article

แชทผ่านไลน์
แชทกับเราบน Messenger